f
title
แขวงทางหลวงตากที่ 2 (แม่สอด)
Maesot Highway District
วิสัยทัศน์ : มุ่งมั่นสู่แขวงทางหลวงคุณภาพ ในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ บริหารงานอย่างเป็นระบบ เพื่อความปลอดภัยของประชาชน
ขออนุญาตเกี่ยวกับทางเชื่อม
ลงวันที่ 22/11/2561

             การขออนุญาตทำทางเชื่อมตามแบบมาตรฐานเข้าออกบ้านพักอาศัยที่ดินว่างเปล่า (มาตรา 37, 35) 

(นายช่างแขวงการทางได้รับมอบหมายให้เป็นผู้พิจารณาอนุญาต)

แผนผังแสดงขั้นตอนและระยะเวลาปฏิบัติราชการที่ปรับปรุงใหม่ 

(ช่วงยื่นคำขอ)
                            (ระยะเวลาการรอคอย)

สรุป    1. ช่วงยื่นคำขอ 
                  - 1 ขั้นตอน 1 จุดบริการ รวมระยะเวลา 15 นาที 

             2. ช่วงดำเนินการจนแล้วเสร็จ (รวมระยะเวลายื่นคำขอด้วย) 
                  - 5 ขั้นตอน 1 จุดบริการ รวมระยะเวลา 12 วัน 15 นาที 

             การขออนุญาตทำทางเชื่อมตามแบบมาตรฐานเข้าอาคารพาณิชย์สถานีบริการน้ำมัน โรงงาน หมู่บ้านจัดสรร ฯลฯ (มาตรา 37,55) 

             (ผู้อำนวยการสำนักทางหลวง ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้พิจารณาอนุญาต)

แผนผังแสดงขั้นตอนและระยะเวลาปฏิบัติราชการที่ปรับปรุงใหม่ 

(ช่วงยื่นคำขอ)
(ระยะเวลาการรอคอย)

สรุป    1. ช่วงยื่นคำขอ 
                  - 1 ขั้นตอน 1 จุดบริการ รวมระยะเวลา 15 นาที 
          
             2. ช่วงดำเนินการจนแล้วเสร็จ    (รวมระยะเวลายื่นคำขอด้วย) 
                  - 5 ขั้นตอน 1 จุดบริการ รวมระยะเวลา 12 วัน 15 นาที 

             การขออนุญาตทำทางเชื่อมตามแบบมาตรฐานเข้าอาคารพาณิชย์สถานีบริการน้ำมัน โรงงาน หมู่บ้านจัดสรร ฯลฯ (มาตรา 37,55) 

             (ผู้อำนวยการสำนักทางหลวง ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้พิจารณาอนุญาต)

แผนผังแสดงขั้นตอนและระยะเวลาปฏิบัติราชการที่ปรับปรุงใหม่ 

(ช่วงยื่นคำขอ)
(ระยะเวลาการรอคอย)

สรุป    1. ช่วงยื่นคำขอ 
                  - 1 ขั้นตอน 1 จุดบริการ รวมระยะเวลา 15 นาที 

             2. ช่วงดำเนินการจนแล้วเสร็จ    (รวมระยะเวลายื่นคำขอด้วย) 
                  - 7 ขั้นตอน 1 จุดบริการ รวมระยะเวลา 27 วัน 15 นาที 

             การขออนุญาตทำทางเชื่อมที่ไม่เป็นไปตามแบบมาตรฐาน (มาตรา 37, 35) 

             [ รองอธิบดี (รทว.) รับมอบหมายให้เป็นผู้พิจารณาอนุญาต]

ขั้นตอนและระยะเวลาปฏิบัติราชการกรณีการขออนุญาต 
ติดตังป้ายแนะนำบนทางหลวง (มาตรา 47 ) 

(รองอธิบดี (รทว.) ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้พิจารณาอนุญาต 

(ช่วงยื่นคำขอ)
(ระยะเวลาการรอคอย)
 
 

ระยะเวลารวมทั้งสิ้น 60 วัน 

หมายเหต ุ ระยะเวลาดังกล่าว ไม่รวมวันหยุดราชการ และไม่รวมเวลาที่ใช้ในการส่งหนังสือ

ขั้นตอนและระยะเวลาปฏิบัติราชการกรณีการขออนุญาตสร้างหรือดัดแปลง ต่อเติมอาคารต่าง ๆ ในที่ดินริมเขตทางหลวงในระยะไม่เกิน 15 เมตร หรือ 50 เมตร 
เฉพาะทางหลวงบางสายที่ได้มี พรบ. ออกมากำหนดไว้ (มาตรา 49 ) 

(รองอธิบดี (รทว.) ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้พิจารณาอนุญาติ)

 

 

ระยะเวลารวมทั้งสิ้น 56 วัน

หมายเหตุ ระยะเวลาดังกล่าว ไม่รวมวันหยุดราชการ และไม่รวมเวลาที่ใช้ในการส่งหนังสือ 

 

การขออนุญาตวางหรือเชื่อมท่อระบายน้ำ เพื่อระบายน้ำทิ้งลงสู่เขตทางหลวง

           1. การขออนุญาตระบายน้ำจากที่ดินริมเขตทางหลวงลงสู่เขตทางหลวง 

            
ผู้ขออนุญาตจะต้องแสดงแผนผังที่ตั้งของที่ดินและลำราง แม่น้ำ คลองต่าง ๆ ที่ใกล้เคียงต่าง ๆ ซึ่งการระบายน้ำสองข้างทางหลวงไปต่อเชื่อมอยู่ หรือมิได้ต่อเชื่อมอยู่ก็ตาม เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาอนุญาต 
กรมทางหลวงจะอนุญาตให้มีการระบายน้ำลงสู่เขตทางหลวง เฉพาะบริเวณที่ท่อระบายน้ำหรือคูระบายน้ำ ของทางหลวงมีความจุหรือมีความสามารถเพียงพอที่จะรับปริมาณน้ำดังกล่าวได้ 

                ทั้งนี้ผู้ขออนุญาตจะต้องเสนอเอกสารเพื่อประกอบการพิจารณาดังต่อไปนี้ 

                1.1 ระบบการกำจัดน้ำเสียก่อนที่จะระบายน้ำลงสู่เขตทางหลวง ซึ่งมีสถาบันทางราชการหรือวิศวกร ที่ได้รับอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมรับรอง 

                1.2 ใบอนุญาตหรือความยินยอมจากกรมชลประทาน กรมเจ้าท่า ฯลฯ ซึ่งเป็นผู้ดูแลลำราง แม่น้ำ คลอง ที่รับน้ำจากการระบายนั้น 

                1.3 การะระบายน้ำจากอาคารทั่วไปไม่อยู่ในข่ายที่จะต้องมีการบำบัดน้ำเสีย จะต้องมีการก่อสร้างบ่อดักเศษขยะ ตะกอน และไขมัน 

        2. ข้อกำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมดังนี้ 

                2.1 ให้ก่อสร้างบ่อพักไขมันในที่ดินของผู้ขอฯ บริเวณริมเขตทางหลวงก่อนเชื่อมท่อระบายน้ำลงสู่ทางระบายน้ำ ในเขตทางหลวง และให้ผู้ขอฯจัดทำประตูน้ำสำหรับเปิดปิดเพื่อควบคุมการระบายน้ำไว้ด้วย ในกรณีที่น้ำระบายออกมาสกปรก จะสามารถปิดกั้นน้ำดังกล่าวไว้ได้ 

                2.2 น้ำที่ระบายออกมาจะต้องเป็นน้ำที่สะอาดได้ผ่านระบบบำบัดน้ำเสียเป็นน้ำดีแล้วเท่านั้น ห้ามระบายน้ำเน่าสกปรกลงสู่ทางระบายน้ำในเขตทางหลวง 

                2.3 ผู้ที่ได้รับอนุญาตยินยอมให้เจ้าหน้าที่กรมทางหลวงเข้าตรวจสอบการระบายน้ำ และยินยอมปฏิบัติตามคำสั่งหรือคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ทุกประการ      

                2.4 ผู้ขอฯจะต้องดูแลทางระบายน้ำในเขตทางหลวงให้น้ำที่ระบายออกมาสามารถไหลผ่านลงสู่ คลองสาธารณะได้ ไม่ให้เกิดน้ำท่วมขังมีผลกระทบต่อโครงสร้างทางหลวง และความเสียหายของผู้อื่น ในกรณีที่มีปัญหา ผู้ขอฯต้องรับผิดชอบแก้ไข เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติมตามที่แขวงฯกำหนดโดยผู้ขอฯเป็นผู้จ่ายค่าใช้จ่ายเองทั้งสิ้น 

                2.5 หากปรากฎหรือพบว่าผู้ได้รับอนุญาตไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขข้างต้น และน้ำที่ปล่อยมามีผลกระทบ ต่อสิ่งแวดล้อม กรมทางหลวงจะเพิกถอนการอนุญาตทันที โดยผู้ได้รับอนุญาตจะเรียกร้องค่าเสียหายใด ๆ จากกรมทางหลวงไม่ได้ และจะต้องรับผิชชอบต่อความเสียหายดังกล่าวที่เกิดขึ้น 

        3. วิธีการขออนุญาต 

                ให้ผู้ขออนุญาตยื่นความจำนงผ่านหมวดการทาง , แขวงการทาง, สำนักงานบำรุงทาง ซึ่งรับผิดชอบบริเวณทางหลวงนั้น การยื่นขออนุญาตให้มีคำร้อง แบบแปลน และเอกสารสำคัญต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ 

                3.1 คำขออนุญาตตามมาตรา 47 พรบ.ทางหลวง พ.ศ. 2535 หรือสามารถ ดูได้จากตัวอย่าง Download 

                3.2 แบบแปลนแผนผัง พร้อมรูปตัดแสดงการเดินท่อน้ำทิ้งภายในที่ดินผู้ขอฯจนกระทั่งมาบรรบจบ ท่อระบายน้ำทางหลวง หรือทางระบายน้ำทางหลวง 

                3.3 แบบแปลนและเอกสารตามข้อ 1 

                3.4 สำเนาบัตรประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขอฯ ในกรณีที่ผู้ขอฯเป็นเอกชน 

                3.5 ในกรณีที่บริษัท ห้างหุ้นส่วน ให้แสดงหนังสือจดทะเบียนบริษัทฯ ห้างหุ้นส่วนประกอบ และในกรณีที่มีการมอบอำนาจทำการแทน ต้องมีหนังสือมอบอำนาจพร้อมตราประทับของผู้มีอำนาจลงนามแทนบริษัทฯ ห้างหุ้นส่วน พร้อมสำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ 

                3.6 เอกสารและแบบแปลนในการขออนุญาตอย่างละ 4 ชุด สำหรับหนังสือมอบอำนาจฉบับแรกให้ติดอากรราคา 10 บาท


'